วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปความรู้ที่ได้เรียนในวันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2558

   จากที่อาจารย์สอนเกี่ยวกับกรอบแนวคิดการจัดการความรู้นั้นมีหลายรูปแบบแล้วแต่ว่าจะเป็นกรอบแนวคิดของใครแล้วใครเป็นเจ้าของทฤษฏีนั้นจากที่ดิฉันคิดสังคมปัจจุบัน ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในสังคมโลกปัจจุบันนั้นเป้นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับองค์กรต่างๆ  สังคมและประเทศชาติ ในการสร้างศักยภาพในการแข่งขันเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้จำเป็นต้องเรียนรู้ศึกษาและประยุกต์เพื่อนำไปใช้ต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน


 สรุปเกี่ยวกับที่เพื่อนได้ไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
     
       ได้รับความรู้จากหลากหลายเรื่องที่เพื่อนๆทั้ง 8 กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ผลการประเมิน การจัดการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาล เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่ครูควรจำมี 12 ประการ การพัฒนาผู้เรียนตามแนวทฤษฏี การพลิกบทบาทสภาการศึกษา หลากหลายเรื่องที่เพื่อนๆได้นำเสนอเป็นกรอบความรู้ใหม่ๆที่ได้จากเพื่อนๆได้แลกเปลี่ยนประสอบการณืและได้ฝึกการนำเสนอและถ่ายทอดยังไงเพื่อให้เพื่อนเข้ามากขึ้นในการทำงานเป็นกลุ่มเพื่อให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

และนี้คือหัวข้อที่ดิฉันได้นำเสนอในชั้นเรียนเมื่อคาบที่แล้วค่ะ


วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปองค์ความรู้ การจัดการเรียนรู้ วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2558

ใจความสำคัญ
              จากที่ได้เรียนในคาบนั้น  ได้รู้ว่าความรู้นั้นมีอยู่รอบตัวเรามันมีอยู่ว่า แล้วแต่ใครจะนำมาใช้อย่างไรหรือเก็บมาใช้หรือไม่ และความรู้คือพลังที่อยู่ในตัวเราไม่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมกรรมได้ ความรู้จะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อนำความรู้ที่ได้นำมาประยุกต์ใช้ในโอกาสและเวลาที่เหมาะสม
ความหมายของความรู้ 
ความรู้ (Knowledge) หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำและการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์ ซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ที่เป็นอิสระแก่กัน ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน 


การจัดการความรู้ หรือเคเอ็ม (KM = Knowledge Management) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด 
โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ 1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม 2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

ตั้งเป้าหมายการจัดการความรู้เพื่อพัฒนา 3 ประเด็น 
งาน พัฒนางาน 
คน พัฒนาคน 
องค์กร เป็นองค์กรการเรียนรู้ 
ความเป็นชุมชนในที่ทำงาน การจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง นี่คือ หลุมพรางข้อที่ 1 ของการจัดการความรู้ เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้เป็นก้าวแรก ถ้าก้าวถูกทิศทาง ถูกวิธี ก็มีโอกาสสำเร็จสูง แต่ถ้าก้าวผิด ก็จะเดินไปสู่ความล้มเหลว ตัวกำหนดที่สำคัญคือแรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ 
การจัดการความรู้ที่ดีเริ่มด้วย 
สัมมาทิฐิ : ใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุความสำเร็จและความมั่นคงในระยะยาว 
การจัดทีมริเริ่มดำเนินการ 
การฝึกอบรมโดยการปฏิบัติจริง และดำเนินการต่อเนื่อง 
การจัดการระบบการจัดการความรู้ 
แรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งาน คน องค์กร และความเป็นชุมชนในที่ทำงานดังกล่าวแล้ว เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ แรงจูงใจเทียมจะนำไปสู่การดำเนินการจัดการความรู้แบบเทียม และไปสู่ความล้มเหลวของการจัดการความรู้ในที่สุด แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ ที่พบบ่อยที่สุด คือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด ทำตามแฟชั่นแต่ไม่เข้าใจความหมาย และวิธีการดำเนินการ จัดการความรู้อย่างแท้จริง